เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [5.ปัฐจมปัณณาสก์]
5.อาปัตติภยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

11. จตุตถโวหารสูตร1
ว่าด้วยโวหาร สูตรที่ 4

[253] ภิกษุทั้งหลาย อริยโวหาร 4 ประการนี้
อริยโวหาร 4 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. การกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าได้เห็น
2. การกล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าได้ฟัง
3. การกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าได้ทราบ
4. การกล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าได้รู้

ภิกษุทั้งหลาย อริยโวหาร 4 ประการนี้แล

จตุตถโวหารที่ 11 จบ
อาปัตติภยวรรคที่ 5 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. สังฆเภทกสูตร 2. อาปัตติภยสูตร
3. สิกขานิสังสสูตร 4. เสยยาสูตร
5. ถูปารหสูตร 6. ปัญญาวุฑฒิสูตร
7. พหุการสูตร 8. ปฐมโวหารสูตร
9. ทุติยโวหารสูตร 10. ตติยโวหารสูตร
11. จตุตถโวหารสูตร

ปัญจมปัณณาสก์ จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [5.ปัฐจมปัณณาสก์]
6.อภิญญาวรรค 1.อภิญญาสูตร

6. อภิญญาวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมที่รู้ยิ่ง
1. อภิญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่รู้ยิ่ง

[254] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 4 ประการนี้
ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้ก็มี
2. ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรละก็มี
3. ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรให้เจริญก็มี
4. ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรทำให้แจ้งก็มี

ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ อุปาทานขันธ์ 5 นี้เรียกว่า ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้
ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรละ เป็นอย่างไร
คือ อวิชชาและภวตัณหา นี้เรียกว่า ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรละ
ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรให้เจริญ เป็นอย่างไร
คือ สมถะและวิปัสสนา1 นี้เรียกว่า ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรให้เจริญ
ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรทำให้แจ้ง เป็นอย่างไร
คือ วิชชาและวิมุตติ นี้เรียกว่า ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรทำให้แจ้ง
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 4 ประการนี้แล

อภิญญาสูตรที่ 4 จบ